วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA ของมหาวิทยาลัย & The Evolution of Book


ภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA ของมหาวิทยาลัย

            มหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลกควรมีนโยบายส่งเสริมให้มีการจัดทำเอกสาร OA โดยการสนับสนุนให้เงินทุนให้กับผู้จัดทำ ผู้ที่ได้รับทุนต้องทำเอกสารให้เป็น OA เพื่อเผยแพร่ผลงานให้เป็นสาธารณะ ซึ่งควรเผยแพร่ผลงานภายในระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน
การทำเอกสาร OA ต้องอาศัยความร่วมมือหลายๆกลุ่ม ซึ่งผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ OA เพื่อใช้ในการอธิบายให้ผู้ใช้เข้าใจเกี่ยวกับเอกสาร OA ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยต้องมีการเดินสายติดต่อกับหน่วยงานต่างๆและประชาสัมพันธ์ เรื่อง OA เพื่อให้เป็นที่รู้จักและทำให้แนวคิดนี้เป็นที่ยอมรับด้วย
บรรณารักษ์และนักสารสนเทศ
1.      ต้องศึกษา ติดตาม เผยแพร่ แนะนำ ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการพิมพ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการจัดทำเอกสารแบบ OA เกิดขึ้น
2.      ต้องเลิกบอกรับข้อเสนอต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางธุรกิจและบอกรับวารสาร OA ที่ดีกว่า
3.      ต้องมีการรวบรวมองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัย แล้วจัดเก็บไว้ในหน่วยงาน

The Evolution of Books
1.      สิ่งตีพิมพ์ เป็นการจัดทำทรัพยากรสารสเทศในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ที่มีเพียงตัวอักษร อาจมีรูปภาพ แผนภูมิประกอบ มีข้อเสีย คือ อ่านได้อย่างเดียว เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บ ไม่สะดวกในการพกพา มีราคาแพงกว่า e-Book ข้อดี คือ การอ่านไม่ต้องใช้อุปกรณ์ จึงไม่ต้องเพิ่มงบประมาณในการซื้ออุปกรณ์
2.      สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแต่ก่อนเป็นคอมพิวเตอร์ ต่อมาพัฒนาเป็น E-book(หนังสือที่จัดทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์), Reader, มือถือที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ เช่น I-Phone, I-Pad ตามลำดับ เป็นการนำเสนอในรูปแบบของสื่อมัลติมีเดีย มีข้อดี คือ ราคาถูก มีการนำเสนอที่หลากหลายช่วยดึงดูดความสนใจ ไม่เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บ มีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ แต่ต้องใช้อุปกรณ์ในการอ่าน จึงมีข้อเสีย คือ เพิ่มงบประมาณในการซื้ออุปกรณ์การอ่าน คัดลอกได้ง่าย ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านลิขสิทธิ์และเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ เช่น ปัญหาทางตา ปัญหาโรคข้อ ปัญหาปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
E-Book Formats
ไฟล์ที่ดีที่สุด คือ ePub นอกจากนั้นยังมี PDF, Amazon Kindle, eReader, Sony, Palm DOC, RTF, Plucker เป็นต้น
ปัญหาของห้องสมุด คือ การที่ไม่รู้ว่าผู้อ่านมีตัวอ่านไฟล์แบบใด จึงต้องทำการสำรวจ เพื่อให้มีตัวอ่านไฟล์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ePub จึงเป็นไฟล์ที่ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีลักษณะที่เป็น Open Standard   เพราะสามารถอ่านได้โดยใช้เครื่องอ่านอะไรก็ได้ ถือเป็นไฟล์ที่เป็นมาตรฐาน สามารถ convert คือ แปลงไฟล์ให้เครื่องต่างๆอ่านได้
e-Reader มีคุณสมบัติ ดังนี้
1.      สามารถจัดเก็บในรูปแบบของไฟล์ได้
2.      สามารถบันทึก คักลอก วาง ข้อความได้
3.      สามารถเน้นข้อความเหมือนอ่านในหนังสือและเพิ่มเติมข้อความเพื่ออธิบายให้เข้าใจได้ ผู้ใช้สามารถกลับมาอ่านข้อความที่เน้นหรือเพิ่มเติมได้อีก
4.      สามารถปรับตำแหน่งตามที่ต้องการได้
5.      สามารถเชื่อมโยงและเชื่อต่อกับอินเทอร์เน็ตได้
6.      มีพจนานุกรม เพื่อช่วยในการอ่านได้
ตัวอย่างของ eReader
Ex1. Amazon Kindle มีคุณสมบัติที่เบา อ่านในแบบขาวดำ แต่ว่า I-Pad จะดีกว่า เพราะ เล่นอินเทอร์เน็ตได้
Ex2. Branes & Noble Nook มุ่งเป้าหมายไปที่ เด็กวัยรุ่น เพราะมีสีสันสวยงาม สามารถอ่านหนังสือในแบบสีต่างๆได้
หนังสือที่มีแนวคิดเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์
1.             The Foundation
2.             Star War
3.             Time Machine
รูปแบบในการสร้างสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1.      เรียบเรียง
2.      ปรับปรุง
3.      เตรียมพิมพ์
4.      จัดพิมพ์
5.      การนำออกขายให้กับผู้ซื้อ
** Free eBooks by Project Gutenberg เป็นแนวคิดที่ว่า นำวรรณกรรมที่หมดอายุลิขสิทธิ์แล้วมานำเสนอบนเว็บไซต์ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงวรรณกรรมของโลกได้ สามารถดาวน์โหลดและอ่านได้เลย ช่วยส่งเสริมการอ่านและก่อให้เกิดการพัฒนาการอ่านด้วย

            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น