หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)
เดิมเป็นสิ่งตีพิมพ์และต่อมาได้มีการจัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือที่เรียกว่า e-Book ซึ่งแต่ก่อนจัดเก็บไว้ใน CD หรือ Diskette หลังจากนั้นเก็บไว้ใน Flash Drive และต่อมาก็แปลงไฟล์มาเป็น html จัดทำไว้ในเว็บไซต์ จึงทำให้ห้องสมุดสามารถจัดซื้อ Encyclopedia Britannica ได้ หรือสามารถซื้อสารานุกรมที่สามารถอ่านในรูปแบบ html ได้ ซึ่งการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีการจัดเก็บต้นฉบับไว้ด้วย โดยแบ่งการจัดทำออกเป็น ดังนี้
1. Self Publishing เป็นการจัดทำแบบส่วนบุคคล อาจจัดทำโดยผู้แต่งหรือตัวกลางจัด จำหน่าย เช่น Amazon, Barnes & Nobel, Fat brain เป็นต้น
2. Commercial Publishing เป็นการจัดทำเพื่อการค้า
3. Education Publishing เป็นการจัดทำเพื่อการศึกษา
ข้อด้อย
1. ผู้ใช้ต้องมีเครื่องอ่านจึงจะสามารถอ่านได้
2. ต้องใช้พลังงานในการใส่คำ
3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์บางเล่มไม่สามารถใช้กับเครื่องอ่านรุ่นใหม่ได้
4. หายง่าย เสียหายง่าย เพราะ เปราะบาง
E-Book & Library
ข้อดี
ข้อดี
1. ผู้ใช้เข้าถึงได้จำนวนมากในครั้งเดียวกันและเข้าถึงสารสนเทศได้ในปริมาณที่มากขึ้น
2. ห้องสมุดสามารถจัดการรูปแบบความร่วมมือในการจัดซื้อ เพื่อประหยัดงบประมาณได้
3. ห้องสมุดสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ทันที
4. การจัดเก็บสะดวกขึ้น เนื่องจากทำสำเนาง่ายขึ้น ไม่เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บและกระดาษไม่ต้องทำซ้ำซ้อน
5. ห้องสมุดสามารถให้บริการออนไลน์ได้ ปัจจุบันสามารถเข้าถึงได้โดยใช้เครื่องมือ
6. ห้องสมุดนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้บริการในห้องสมุด เพื่อทันต่อความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไป ตามเทคโนโลยี เช่น Blog Wikipedia, OSS, RSS เป็นต้น
7. ราคาถูกกว่าสิ่งพิมพ์และมีรูปแบบในการจัดทำที่สะดวกในการเข้าถึง
8. เป็นการลดงานในการขึ้นชั้น การยืม การตรวจชั้น ของบรรณารักษ์
9. ห้องสมุดสามารถบอกเลิกหรือบอกรับตามความต้องการได้
ข้อเสีย
1. บุคลากรต้องได้รับการฝึกฝนใหม่หรือจัดบุคลากรให้บริการกลุ่มใหม่ รวมทั้งผู้ใช้ต้องได้รับการอบรมเพื่อความเข้าใจ
2. อุปกรณ์ร่วมใช้ ต้องเพิ่มงบประมาณในการจัดซื้อและดูแลรักษา
3. ปัญหาในการจัดซื้อโดยตรงกับผู้จัดจำหน่าย ผ่านบัตรเครดิต
4. เนื่องจากการจัดทำที่ต่างรูปแบบ การให้บริการและการเข้าถึงจึงมีความหลากหลายและผู้ผลิตอาจไม่ได้จัดทำสำหรับห้องสมุด
Book Scanner
หมายถึง เครื่องที่ใช้สแกนหนังสือ ที่ประกอบด้วย กล้องถ่ายรูป, แสง, ภาพถ่าย เช่น Cannon Bookeye3, Kirtas AFT Book scan เป็นต้น การจัดซื้อต้องมีการวางแผนและทำความเข้าใจกับเครื่องมือที่ใช้ต่างๆก่อน เพื่อสามารถวิเคราะห์ได้ว่า หากจัดซื้อมาจะคุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไปหรือไม่ มีความเหมาะสมหรือไม่ มีความยั่งยืนหรือไม่ เพียงใด
การสแกนจะสามารถสแกนได้เพียงแค่หน้าปกและเนื้อหาที่ไม่ควรเกิน 10% ของหนังสือทั้งเล่ม เนื่องจากเป็นปัญหาทางด้านลิขสิทธิ์ ต้องให้เจ้าของอนุญาตก่อน จากนั้นก็จัดทำเป็นฐานข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้สามารถดูตัวอย่างได้ว่า เป็นหนังสือที่ต้องการอ่านหรือใช้หรือไม่
Optical Character Recognition หรือ OCR คือ การนำข้อมูลจากหนังสือมาทำการสแกน แล้วใช้โปรแกรมประเภท OCR แปลงภาพที่ได้ให้อยู่ในรูปของ MS ซึ่งสามารถเพิ่มเติมข้อมูลตามที่ต้องการได้ เช่น Omnipage, Thai OCR เป็นต้น
สำหรับประเทศไทย มี Google Docs ที่รองรับ OCR ภาษาไทย ฟรี!! คือ การเอารูปภาพของ Translate ของ Google มาแปล ซึ่งมีอยู่หลายภาษาให้เลือกตามที่ต้องการ สามารถดาวน์โหลดอะไรก็ได้ที่สามารถทำการสแกนได้
Software
Microsoft Reader สามารถดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ได้ฟรีโดยสั่งให้ซอฟต์แวร์เปลเป็นไฟล์ Reader
ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Exe Book Self-Publisher, E-ditor, Mobipocket Publisher 3.0, Desktop Author, E-book Gold, E-book Creator, Flir Album เป็นต้น
ซอฟต์แวร์สำหรับการอ่าน เช่น Browser, Adobe Aerobat eBook Reader, Microsoft Reader เป็นต้น
การเข้าถึง (Access)
Offline : ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ได้ทันที
Online : ผู้ใช้สามารถเข้าไปดูได้โดยผ่านสื่อออนไลน์
Implementation of e-Books
1.Downloadable e-Books : มีโปรแกรมเฉพาะให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดมาอ่านได้เลย เพราะเจ้าของผลงานไม่ได้ทำเพื่อการค้า เปิดเอกสารเป็นแบบสาธารณะ เช่น หลายมหาวิทยาลัย มี e-Readers ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ Microsoft Reader เพราะ ใช้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลามากในการจัดการ และสามารถทำ e-Books ได้ด้วย
2.Dedicated e-Books Reader : ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้โดยต้องเป็นสมาชิก เช่น Amazon Kindle
3.Web Accessible e-Books : มีทั้ง Proprietary และ Circulation e-Books ห้องสมุดจึงไม่ต้องทำการลงรายการยืมคืนให้ผู้ใช้ ผู้ใช้สามารถอ่านได้ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ทำสำเนาทั้งสิ่งพิมพ์และแบบดิจิตอล
ตัวแทนจำหน่าย e-Books
1. NetLibrary
2. eBrary
3. OVID
4. Safari
5. Ebsco
6. eCPS
7. ArtFL
8. American Psychological Association
9. Oxford UP Reference
เกร็ดความรู้
ห้องสมุดควรเน้นหนังสืออ้างอิงหรือ Reference เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้ด้วยตนเองและสามารถสืบค้นฐานข้อมูลได้ง่าย แต่ปัญหาของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ เมื่อมีการบอกรับฐานข้อมูล Reference แต่ก็ไม่มีผู้ใช้ จึงมีการบอกเลิก ซึ่งประเด็นนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก ผู้ใช้รู้ว่ามีให้บริการ เพราะไม่มีการประชาสัมพันธ์หรือแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่ามีให้บริการ การแก้ปัญหาคือ เมื่อมีการบอกรับอะไรก็ตามต้องนำมาใส่ไว้ที่ OPAC ต้องบอกด้วยว่ามีอะไรบ้าง เช่น e-Journal, e-Book, e-Rare book เป็นต้น นอกจากอยู่ใน OPAC แล้วต้องมีการทำฐานข้อมูลด้วยและต้องแจ้งด้วยว่ามีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อะไรบ้าง สื่อต่างๆที่มีอยู่ในห้องสมุดให้นำมาทำเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น Yale เป็นห้องสมุดเก่าและมีการทำ e-Books ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศเก่าๆได้ ก่อนที่จะให้บริการ Yale มีการตรวจสอบความพร้อมในการให้บริการก่อน เช่น การลงรายการ ฐานข้อมูล ห้องคอมพิวเตอร์ เวลา เป็นต้น และมีการเลือกซื้อเครื่องอ่านโดยการทดสอบ เครื่อง Kindle, Sony, iRex, Apple แล้วดูว่าเครื่องอ่านแบบไหนคุ้มค่าคุ้มราคาและเหมาะสมในการใช้งานกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
สมาคมห้องสมุดอเมริกัน
การจัดทำรูปแบบวารสาร ดังนี้
1. รูปแบบสิ่งพิมพ์ : สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีชื่อเรียกเฉพาะ อาจมีการพิมพ์เผยแพร่ต่อเนื่องกัน เป็นฉบับหรือตอนออกตามกำหนดที่ระบุไว้ แต่ละฉบับหรือตอนบรรจุบทความต่างๆที่เขียนโดยผู้เขียนหลายคน ส่วนสิ่งพิมพ์ที่ออกตามช่วงเวลาอาจไม่จำเป็นต้องออกสม่ำเสมอ มีหมายเลขกำกับฉบับ ไม่มีการกำหนดว่าจะยุติการพิมพ์เมื่อใด ภายในฉบับประกอบด้วยข้อเขียนหรือบทความที่ให้ความรู้จากแหล่งต่างๆ
2. รูปแบบย่อส่วน : สามารถจัดเก็บได้นานและประหยัดเนื้อที่
3. รูปแบบ CD-ROM
4. รูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ : ชื่อเรียกของ Electronic Journal มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น E-Journal, Online Journal, Internet Journal เป็นต้น
การจัดทำวารสารอิเล็กทรอนิกส์
1. โดยสแกน : จัดเก็บแฟ้มข้อมูลในแบบแฟ้มรูปภาพในลักษณะ .pdf, .jpg, .bmp, .tift ซึ่งการจัดการรูปภาพในลักษณะนี้ เรียกว่า Document Imaging System โดยระบบจะสแกนภาพเป็นแบบ Bitmap
2.จากกระบวนการพิมพ์ : เป็นการผลิตที่คล้ายกับการพิมพ์สิ่งพิมพ์ในรูปแบบทั่วไป
แบบอิเล็กทรอนิกส์ : จัดทำวารสารในรูปแบบดิจิตอลและให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อให้วารสารที่จัดทำเป็นทรัพยากรสารนิเทศส่วนหนึ่งหรือเป็นบรรณานุกรมของห้องสมุดและให้บริการหน้าสารบัญในรูปแบบดิจิตอล ซึ่งสำนักพิมพ์ส่วนใหญ่จะสร้างเว็บไซต์ด้วยตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น