วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

e-Books


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)

เดิมเป็นสิ่งตีพิมพ์และต่อมาได้มีการจัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือที่เรียกว่า e-Book ซึ่งแต่ก่อนจัดเก็บไว้ใน CD หรือ Diskette หลังจากนั้นเก็บไว้ใน Flash Drive และต่อมาก็แปลงไฟล์มาเป็น html จัดทำไว้ในเว็บไซต์ จึงทำให้ห้องสมุดสามารถจัดซื้อ Encyclopedia Britannica ได้ หรือสามารถซื้อสารานุกรมที่สามารถอ่านในรูปแบบ html ได้ ซึ่งการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีการจัดเก็บต้นฉบับไว้ด้วย โดยแบ่งการจัดทำออกเป็น ดังนี้
1.   Self Publishing เป็นการจัดทำแบบส่วนบุคคล อาจจัดทำโดยผู้แต่งหรือตัวกลางจัด  จำหน่าย เช่น Amazon, Barnes & Nobel, Fat brain เป็นต้น
2.   Commercial Publishing เป็นการจัดทำเพื่อการค้า
3.   Education Publishing เป็นการจัดทำเพื่อการศึกษา
ข้อด้อย
1.   ผู้ใช้ต้องมีเครื่องอ่านจึงจะสามารถอ่านได้
2.   ต้องใช้พลังงานในการใส่คำ
3.   หนังสืออิเล็กทรอนิกส์บางเล่มไม่สามารถใช้กับเครื่องอ่านรุ่นใหม่ได้
4.   หายง่าย เสียหายง่าย เพราะ เปราะบาง
E-Book & Library
ข้อดี
1.  ผู้ใช้เข้าถึงได้จำนวนมากในครั้งเดียวกันและเข้าถึงสารสนเทศได้ในปริมาณที่มากขึ้น
2.  ห้องสมุดสามารถจัดการรูปแบบความร่วมมือในการจัดซื้อ เพื่อประหยัดงบประมาณได้
3.  ห้องสมุดสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ทันที
4.  การจัดเก็บสะดวกขึ้น เนื่องจากทำสำเนาง่ายขึ้น ไม่เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บและกระดาษไม่ต้องทำซ้ำซ้อน
5.  ห้องสมุดสามารถให้บริการออนไลน์ได้ ปัจจุบันสามารถเข้าถึงได้โดยใช้เครื่องมือ
6.  ห้องสมุดนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้บริการในห้องสมุด เพื่อทันต่อความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไป ตามเทคโนโลยี เช่น Blog Wikipedia, OSS, RSS เป็นต้น
7.  ราคาถูกกว่าสิ่งพิมพ์และมีรูปแบบในการจัดทำที่สะดวกในการเข้าถึง
8.  เป็นการลดงานในการขึ้นชั้น การยืม การตรวจชั้น ของบรรณารักษ์
9.  ห้องสมุดสามารถบอกเลิกหรือบอกรับตามความต้องการได้
      ข้อเสีย
1.   บุคลากรต้องได้รับการฝึกฝนใหม่หรือจัดบุคลากรให้บริการกลุ่มใหม่ รวมทั้งผู้ใช้ต้องได้รับการอบรมเพื่อความเข้าใจ
2.   อุปกรณ์ร่วมใช้ ต้องเพิ่มงบประมาณในการจัดซื้อและดูแลรักษา
3.   ปัญหาในการจัดซื้อโดยตรงกับผู้จัดจำหน่าย ผ่านบัตรเครดิต
4.   เนื่องจากการจัดทำที่ต่างรูปแบบ การให้บริการและการเข้าถึงจึงมีความหลากหลายและผู้ผลิตอาจไม่ได้จัดทำสำหรับห้องสมุด
Book Scanner
                  หมายถึง เครื่องที่ใช้สแกนหนังสือ ที่ประกอบด้วย กล้องถ่ายรูป, แสง, ภาพถ่าย เช่น Cannon Bookeye3, Kirtas AFT Book scan เป็นต้น การจัดซื้อต้องมีการวางแผนและทำความเข้าใจกับเครื่องมือที่ใช้ต่างๆก่อน เพื่อสามารถวิเคราะห์ได้ว่า หากจัดซื้อมาจะคุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไปหรือไม่ มีความเหมาะสมหรือไม่ มีความยั่งยืนหรือไม่ เพียงใด
      การสแกนจะสามารถสแกนได้เพียงแค่หน้าปกและเนื้อหาที่ไม่ควรเกิน 10% ของหนังสือทั้งเล่ม เนื่องจากเป็นปัญหาทางด้านลิขสิทธิ์ ต้องให้เจ้าของอนุญาตก่อน จากนั้นก็จัดทำเป็นฐานข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้สามารถดูตัวอย่างได้ว่า เป็นหนังสือที่ต้องการอ่านหรือใช้หรือไม่
      Optical Character Recognition หรือ OCR คือ การนำข้อมูลจากหนังสือมาทำการสแกน แล้วใช้โปรแกรมประเภท OCR แปลงภาพที่ได้ให้อยู่ในรูปของ MS ซึ่งสามารถเพิ่มเติมข้อมูลตามที่ต้องการได้ เช่น Omnipage, Thai OCR เป็นต้น
                  สำหรับประเทศไทย มี Google Docs ที่รองรับ OCR ภาษาไทย ฟรี!! คือ การเอารูปภาพของ Translate ของ Google มาแปล ซึ่งมีอยู่หลายภาษาให้เลือกตามที่ต้องการ สามารถดาวน์โหลดอะไรก็ได้ที่สามารถทำการสแกนได้
Software
                  Microsoft Reader สามารถดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ได้ฟรีโดยสั่งให้ซอฟต์แวร์เปลเป็นไฟล์ Reader
      ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Exe Book Self-Publisher, E-ditor, Mobipocket Publisher 3.0, Desktop Author, E-book Gold, E-book Creator, Flir Album เป็นต้น
      ซอฟต์แวร์สำหรับการอ่าน เช่น Browser, Adobe Aerobat eBook Reader, Microsoft Reader เป็นต้น
       การเข้าถึง (Access)
Offline : ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ได้ทันที
Online : ผู้ใช้สามารถเข้าไปดูได้โดยผ่านสื่อออนไลน์
Implementation of e-Books
   1.Downloadable e-Books : มีโปรแกรมเฉพาะให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดมาอ่านได้เลย        เพราะเจ้าของผลงานไม่ได้ทำเพื่อการค้า เปิดเอกสารเป็นแบบสาธารณะ เช่น หลายมหาวิทยาลัย มี e-Readers ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ Microsoft Reader เพราะ ใช้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลามากในการจัดการ และสามารถทำ e-Books ได้ด้วย
   2.Dedicated e-Books Reader : ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้โดยต้องเป็นสมาชิก เช่น Amazon Kindle
   3.Web Accessible e-Books : มีทั้ง Proprietary และ Circulation e-Books ห้องสมุดจึงไม่ต้องทำการลงรายการยืมคืนให้ผู้ใช้ ผู้ใช้สามารถอ่านได้ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ทำสำเนาทั้งสิ่งพิมพ์และแบบดิจิตอล
ตัวแทนจำหน่าย e-Books
   1. NetLibrary
   2. eBrary
   3. OVID
   4. Safari
   5. Ebsco
   6. eCPS
   7. ArtFL
   8. American Psychological Association
   9. Oxford UP Reference

เกร็ดความรู้
ห้องสมุดควรเน้นหนังสืออ้างอิงหรือ Reference เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้ด้วยตนเองและสามารถสืบค้นฐานข้อมูลได้ง่าย แต่ปัญหาของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ เมื่อมีการบอกรับฐานข้อมูล Reference แต่ก็ไม่มีผู้ใช้ จึงมีการบอกเลิก ซึ่งประเด็นนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก ผู้ใช้รู้ว่ามีให้บริการ เพราะไม่มีการประชาสัมพันธ์หรือแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่ามีให้บริการ การแก้ปัญหาคือ เมื่อมีการบอกรับอะไรก็ตามต้องนำมาใส่ไว้ที่ OPAC ต้องบอกด้วยว่ามีอะไรบ้าง เช่น e-Journal, e-Book, e-Rare book เป็นต้น นอกจากอยู่ใน OPAC แล้วต้องมีการทำฐานข้อมูลด้วยและต้องแจ้งด้วยว่ามีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อะไรบ้าง สื่อต่างๆที่มีอยู่ในห้องสมุดให้นำมาทำเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น          Yale  เป็นห้องสมุดเก่าและมีการทำ e-Books ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศเก่าๆได้ ก่อนที่จะให้บริการ Yale มีการตรวจสอบความพร้อมในการให้บริการก่อน เช่น การลงรายการ ฐานข้อมูล ห้องคอมพิวเตอร์ เวลา เป็นต้น และมีการเลือกซื้อเครื่องอ่านโดยการทดสอบ เครื่อง Kindle, Sony, iRex, Apple แล้วดูว่าเครื่องอ่านแบบไหนคุ้มค่าคุ้มราคาและเหมาะสมในการใช้งานกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
            สมาคมห้องสมุดอเมริกัน
การจัดทำรูปแบบวารสาร ดังนี้
      1. รูปแบบสิ่งพิมพ์ : สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีชื่อเรียกเฉพาะ อาจมีการพิมพ์เผยแพร่ต่อเนื่องกัน เป็นฉบับหรือตอนออกตามกำหนดที่ระบุไว้ แต่ละฉบับหรือตอนบรรจุบทความต่างๆที่เขียนโดยผู้เขียนหลายคน ส่วนสิ่งพิมพ์ที่ออกตามช่วงเวลาอาจไม่จำเป็นต้องออกสม่ำเสมอ มีหมายเลขกำกับฉบับ ไม่มีการกำหนดว่าจะยุติการพิมพ์เมื่อใด ภายในฉบับประกอบด้วยข้อเขียนหรือบทความที่ให้ความรู้จากแหล่งต่างๆ
      2. รูปแบบย่อส่วน : สามารถจัดเก็บได้นานและประหยัดเนื้อที่
      3. รูปแบบ CD-ROM
      4. รูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ : ชื่อเรียกของ Electronic Journal มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น E-Journal, Online Journal, Internet Journal เป็นต้น
การจัดทำวารสารอิเล็กทรอนิกส์
1. โดยสแกน : จัดเก็บแฟ้มข้อมูลในแบบแฟ้มรูปภาพในลักษณะ .pdf, .jpg, .bmp, .tift ซึ่งการจัดการรูปภาพในลักษณะนี้ เรียกว่า Document Imaging System โดยระบบจะสแกนภาพเป็นแบบ Bitmap 
2.จากกระบวนการพิมพ์ : เป็นการผลิตที่คล้ายกับการพิมพ์สิ่งพิมพ์ในรูปแบบทั่วไป
แบบอิเล็กทรอนิกส์ : จัดทำวารสารในรูปแบบดิจิตอลและให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อให้วารสารที่จัดทำเป็นทรัพยากรสารนิเทศส่วนหนึ่งหรือเป็นบรรณานุกรมของห้องสมุดและให้บริการหน้าสารบัญในรูปแบบดิจิตอล ซึ่งสำนักพิมพ์ส่วนใหญ่จะสร้างเว็บไซต์ด้วยตนเอง

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA ของมหาวิทยาลัย & The Evolution of Book


ภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA ของมหาวิทยาลัย

            มหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลกควรมีนโยบายส่งเสริมให้มีการจัดทำเอกสาร OA โดยการสนับสนุนให้เงินทุนให้กับผู้จัดทำ ผู้ที่ได้รับทุนต้องทำเอกสารให้เป็น OA เพื่อเผยแพร่ผลงานให้เป็นสาธารณะ ซึ่งควรเผยแพร่ผลงานภายในระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน
การทำเอกสาร OA ต้องอาศัยความร่วมมือหลายๆกลุ่ม ซึ่งผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ OA เพื่อใช้ในการอธิบายให้ผู้ใช้เข้าใจเกี่ยวกับเอกสาร OA ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยต้องมีการเดินสายติดต่อกับหน่วยงานต่างๆและประชาสัมพันธ์ เรื่อง OA เพื่อให้เป็นที่รู้จักและทำให้แนวคิดนี้เป็นที่ยอมรับด้วย
บรรณารักษ์และนักสารสนเทศ
1.      ต้องศึกษา ติดตาม เผยแพร่ แนะนำ ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการพิมพ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการจัดทำเอกสารแบบ OA เกิดขึ้น
2.      ต้องเลิกบอกรับข้อเสนอต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางธุรกิจและบอกรับวารสาร OA ที่ดีกว่า
3.      ต้องมีการรวบรวมองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัย แล้วจัดเก็บไว้ในหน่วยงาน

The Evolution of Books
1.      สิ่งตีพิมพ์ เป็นการจัดทำทรัพยากรสารสเทศในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ที่มีเพียงตัวอักษร อาจมีรูปภาพ แผนภูมิประกอบ มีข้อเสีย คือ อ่านได้อย่างเดียว เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บ ไม่สะดวกในการพกพา มีราคาแพงกว่า e-Book ข้อดี คือ การอ่านไม่ต้องใช้อุปกรณ์ จึงไม่ต้องเพิ่มงบประมาณในการซื้ออุปกรณ์
2.      สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแต่ก่อนเป็นคอมพิวเตอร์ ต่อมาพัฒนาเป็น E-book(หนังสือที่จัดทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์), Reader, มือถือที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ เช่น I-Phone, I-Pad ตามลำดับ เป็นการนำเสนอในรูปแบบของสื่อมัลติมีเดีย มีข้อดี คือ ราคาถูก มีการนำเสนอที่หลากหลายช่วยดึงดูดความสนใจ ไม่เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บ มีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ แต่ต้องใช้อุปกรณ์ในการอ่าน จึงมีข้อเสีย คือ เพิ่มงบประมาณในการซื้ออุปกรณ์การอ่าน คัดลอกได้ง่าย ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านลิขสิทธิ์และเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ เช่น ปัญหาทางตา ปัญหาโรคข้อ ปัญหาปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
E-Book Formats
ไฟล์ที่ดีที่สุด คือ ePub นอกจากนั้นยังมี PDF, Amazon Kindle, eReader, Sony, Palm DOC, RTF, Plucker เป็นต้น
ปัญหาของห้องสมุด คือ การที่ไม่รู้ว่าผู้อ่านมีตัวอ่านไฟล์แบบใด จึงต้องทำการสำรวจ เพื่อให้มีตัวอ่านไฟล์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ePub จึงเป็นไฟล์ที่ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีลักษณะที่เป็น Open Standard   เพราะสามารถอ่านได้โดยใช้เครื่องอ่านอะไรก็ได้ ถือเป็นไฟล์ที่เป็นมาตรฐาน สามารถ convert คือ แปลงไฟล์ให้เครื่องต่างๆอ่านได้
e-Reader มีคุณสมบัติ ดังนี้
1.      สามารถจัดเก็บในรูปแบบของไฟล์ได้
2.      สามารถบันทึก คักลอก วาง ข้อความได้
3.      สามารถเน้นข้อความเหมือนอ่านในหนังสือและเพิ่มเติมข้อความเพื่ออธิบายให้เข้าใจได้ ผู้ใช้สามารถกลับมาอ่านข้อความที่เน้นหรือเพิ่มเติมได้อีก
4.      สามารถปรับตำแหน่งตามที่ต้องการได้
5.      สามารถเชื่อมโยงและเชื่อต่อกับอินเทอร์เน็ตได้
6.      มีพจนานุกรม เพื่อช่วยในการอ่านได้
ตัวอย่างของ eReader
Ex1. Amazon Kindle มีคุณสมบัติที่เบา อ่านในแบบขาวดำ แต่ว่า I-Pad จะดีกว่า เพราะ เล่นอินเทอร์เน็ตได้
Ex2. Branes & Noble Nook มุ่งเป้าหมายไปที่ เด็กวัยรุ่น เพราะมีสีสันสวยงาม สามารถอ่านหนังสือในแบบสีต่างๆได้
หนังสือที่มีแนวคิดเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์
1.             The Foundation
2.             Star War
3.             Time Machine
รูปแบบในการสร้างสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1.      เรียบเรียง
2.      ปรับปรุง
3.      เตรียมพิมพ์
4.      จัดพิมพ์
5.      การนำออกขายให้กับผู้ซื้อ
** Free eBooks by Project Gutenberg เป็นแนวคิดที่ว่า นำวรรณกรรมที่หมดอายุลิขสิทธิ์แล้วมานำเสนอบนเว็บไซต์ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงวรรณกรรมของโลกได้ สามารถดาวน์โหลดและอ่านได้เลย ช่วยส่งเสริมการอ่านและก่อให้เกิดการพัฒนาการอ่านด้วย

            

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Open Access



Open Access
คุณค่าของ OA คือ OA เป็นเอกสารเปิด ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระและสะดวก หากมีคุณภาพ ก็จะถูกนำไปใช้และถูกอ้างอิง ส่งผลให้มีการพัฒนาความรู้จากการวิจัยได้อย่างรวดเร็ว ทำให้บทความวิจัยมีคุณภาพและถูกนำไปใช้ ผลงานจึงกลายเป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับ ทำให้ผู้เขียนมีชื่อเสียงและมีผลต่อหน้าที่การงานของเจ้าของผลงาน
รูปแบบของเอกสาร
1.      Preprint เป็นฉบับร่างหรือต้นฉบับของบทความ ที่ยังไม่ผ่านการประเมินคุณภาพหรือได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
2.      Postprint เป็นฉบับสมบูรณ์ ที่ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ได้รับการปรับปรุงมาจาก Postprint
3.      Grey Literature เป็นเอกสารที่หาได้ยาก ไม่ได้รับการตีพิมพ์ทั่วไป มักเผยแพร่เฉพาะกลุ่ม อาจเป็นสิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้ผลิตมาเพื่อธุรกิจหรือเพื่อขาย หรือไม่ได้ผลิตโดยสำนักพิมพ์ ทำให้บุคคลทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้ เช่น เอกสารการประชุม รายงานของหน่วยงาน เอกสารการทำงาน เอกสารทางธุรกิจ เป็นต้น
Grey จึงต้องมีการทำ OA ทำให้เกิดความรู้มากขึ้น ช่วยให้เข้าใจ รับทราบ ป้องกัน แก้ไขกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้
4.      Errata/Corrigenda เป็นเอกสารที่ได้รับการแก้ไขด้วยเจ้าของเอง โดยที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นมาบอกให้แก้ไข
การนำเสนอเอกสารแบบเปิด
1.      Green OA หรือ Self Archiving เป็นการเก็บผลงานไว้ในคลังข้อมูลขององค์กรสังกัดของผู้เขียนหรืออาจเก็บไว้ในเว็บไซต์ของผู้เขียนเอง การทำ OA อาจเป็นได้ทั้ง Preprint และ Postprint ซึ่งไม่มีการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
2.      Gold OA เป็นการจัดทำ OA Journal ด้วยสำนักพิมพ์ มีผู้ทรงคุณวุฒิทำการตรวจสอบคุณภาพของบทความ
Public Good
คือ การเกิดแนวคิดในกลุ่มนักวิชาการที่ต้องการเผยแพร่บทความวิจัยหรือบทความวิชาการให้เป็นสาธารณะ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนความเป็นสังคมแห่งองค์ความรู้ เนื่องจากทุนที่ได้รับในการวิจัยมาจากรัฐ ซึ่งเป็นเงินที่ได้จากภาษีของประชาชน  จึงควรที่จะเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม
ดัชนีวิเคราะห์คุณภาพผลงานวิชาการ  (Metric)
คือ ค่า Impact Factor เป็นการวัดค่าความถี่ของการได้รับการอ้างอิงหรือการที่บทความวารสารถูกนำไปใช้ในแต่ละปี เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการประเมินคุณภาพ ใช้ในการเปรียบเทียบและจัดอันดับวารสาร อีกทั้งช่วยประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการจัดหาและบอกรับวารสารของห้องสมุด รวมถึงใช้ประเมินคุณภาพของสถาบันการศึกษาอีกด้วย
h-index เป็นค่าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการอ้างถึง(Citation) กับลำดับความนิยมของบทความที่ถูกอ้างถึง ซึ่งค่า h-index จะวัดจากจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ และการอ้างอิงของบทความเหล่านั้น
Citation Frequency หมายถึงจำนวนครั้งที่บทความแต่ละบทความได้รับการอ้างอิง ซึ่งมีผลโดยตรงกับคุณภาพนักวิจัย
Journal Immediacy Index เป็นดัชนีเปรียบเทียบความเร็วที่บทความของวารสารนั้นถูกอ้างอิงถึง (A measure of how quickly the “average article” in a particular journal is cited)
ลิขสิทธิ์
คือ การแสดงความเป็นเจ้าของผลงานเขียน ที่ผู้สร้างสรรค์สร้างงานนั้นมาด้วยสติปัญญาและความสามารถของตน การที่เจ้าของผลงานจดทะเบียนลิขสิทธิ์ เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของการไม่ให้ถูกผู้อื่นทำซ้ำหรือดัดแปลงผลงานของตน หากต้องการลอกเลียนแบบต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของก่อน หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้เป็นเจ้าของสามารถฟ้องร้องได้ ผู้ละเมิดย่อมมีความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา จึงก่อให้เกิดแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆออกมา ซึ่งสิทธิการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จะสิ้นสุดลงเมื่อได้ขายงานให้ผู้อื่นแล้ว
ลิขสิทธิ์เพื่อประโยชน์ของสังคม คือ การส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รัฐให้การคุ้มครองโดยการให้จดลิขสิทธิ์
          ลิขสิทธิ์โดยธรรม  (Fair Use) คือ งานที่มีลิขสิทธิ์ อนุญาตให้ทำสำเนาได้ในจำนวนที่จำกัด โดยมีเงื่อนไขคือทำเพื่อการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามตอบข้อสอบ เพื่อการวิจัย เพื่อใช้ในการวิจารณ์ติชมหรือแนะนำผลงาน เพื่อรายงานข่าวทางสื่อมวลชน เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเพื่อเป็นประโยชน์ของตนและบุคคลในครอบครัว ถือว่าไม่ละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์และไม่ต้องขออนุญาต การใช้งานลิขสิทธิ์โดยชอบธรรมด้วยการทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด อาจทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร แต่จำนวนที่ทำซ้ำต้องไม่เกินจำนวนที่จำเป็น ซึ่งต้องคำนึงถึงความเหมาะสมด้วย และห้องสมุดสามารถจัดให้บริการหมุนเวียนแก่ผู้ใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์
          กฎของ USA จะกำหนดให้ห้องสมุดทำสำเนาไม่เกิน 1 สำเนา เพื่อเปิดให้สาธารณชนเข้าถึง งานที่ไม่ได้ตีพิมพ์สามารถทำสำเนาได้ 3 สำเนา เพื่อเก็บรักษาหรือใช้ในห้องสมุดอื่น แต่ต้องไม่เผยแพร่ออกเป็นงานสาธารณะ ส่วนงานที่เป็นสิ่งตีพิมพ์สามารถทำสำเนาได้ 3 สำเนา เพื่อแทนที่ชุดที่ชำรุดเสียหาย หากห้องสมุดไม่สามารถหามาทดแทนในราคาที่เป็นธรรม แต่ต้องไม่เผยแพร่เป็นงานสาธารณะเช่นเดียวกับงานที่ไม่ได้ตีพิมพ์
กฎหมายเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ คือ การคุ้มครองเจ้าของสิทธิให้สามารถควบคุมการใช้ข้อมูลดิจิตอลที่ตนครองสิทธิอยู่ได้
ผลกระทบต่อห้องสมุด เช่น สำนักพิมพ์เลือกที่จะผลิตวารสารวิชาการในรูปอิเล็กทรอนิกส์อย่างเดียวมากขึ้น และเมื่อมีเจ้าของกิจการสารสนเทศทางวิชาการไม่กี่ราย ราคาสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องและหนังสือจึงสูงขึ้นมาก หากหยุดต่ออายุจะเข้าใช้วารสารที่เคยบอกรับไม่ได้เลย
ผลกระทบต่อผู้ใช้ เช่น การลดจำนวนบอกรับวารสารวิชาการ มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อนักวิจัยและบุคคลทั่วไป เกิดปัญหาการถูกบังคับให้ต้องซื้อหรือบอกรับเป็น Package และมีปัญหาในข้อจำกัดการเข้าใช้ e-Book เล่มที่ได้รับความนิยม
Free Documentation Licenses หรือสัญญาอนุญาต
สามารถใช้สัญญาอนุญาตได้มากกว่า 1 ประเภท ใน 1 งานก็ได้ ซึ่งสัญญาอนุญาตที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ License Creative Commons เมื่อมีการนำไปใช้ประโยชน์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของเจ้าของลิขสิทธิ์และสัญญาอนุญาต คือมีการอ้างอิงถึงผลงานด้วย มีข้อดีดังนี้
1.      สามารถเพิ่มความต้องการได้
2.      ไม่จำกัดในการใช้
3.      เจ้าของผลงานมีสิทธิ์อนุญาตหรือไม่อนุญาตอะไรก็ได้
หมายเหตุ: คำอุทิศลิขสิทธิ์ คือ การยกเลิกลิขสิทธิ์ เป็นการรับรองงานสาธารณสมบัติตามกฎหมาย USA