วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Trend e-Publishing & Open Source Software & Open Access

e-Publishing คือ ข้อความ ภาพ และสื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือกระบวนการจัดทำสิ่งพิมพ์ให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
Trend e-Publishing (แนวโน้มของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์) ปัจจุบันเริ่มมีการปรับปรุงรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้มีความทันสมัยตามเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ดังเช่นองค์การการศึกษาที่ได้มีการจัดทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ฟรี เป็นการช่วยประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ


คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน (Institutional Repository:IR) หมายถึง คลังเก็บทรัพยากรสารสนเทศ ได้แก่ ผลงานหรือผลผลิตของคณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา เช่น ชุดข้อมูล เอกสารสัมมนา บทความเสนอการประชุมวิชาการ เนื้อหาทางการวิจัย หนังสือ วรรณกรรม สื่อการสอน วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ทั้งที่เป็นผลงานที่อยู่ในระหว่างการดำเนินงานและผลงานที่จัดทำขึ้นเสร็จสมบูรณ์ รวมถึงงานที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ โดยมักจะเน้นเนื้อหาทางด้านวิชาการ ซึ่งมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย หรือองค์กรที่มีความประสงค์รวบรวมองค์ความรู้เป็นผู้รวบรวม จัดทำ จัดการ สงวนรักษาและเผยแพร่ในรูปแบบดิจิตอล ซึ่งเดิมอยู่ในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการทั้งผู้ใช้ที่อยู่ภายในและภายนอกองค์การ ถือเป็นการส่งเสริมสนับสนุนในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเสรีมากขึ้น ทุกคนสามารถเข้าไปศึกษาได้ทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งเพื่อให้มีการรวบรวม การสงวนรักษาผลงานหรือทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบดิจิตอลให้คงสภาพไว้ในระยะยาว สามารถเปิดดูได้ในระยะยาว เปิดดูได้หลายครั้ง โดยที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย ถือเป็นการจัดการองค์ความรู้และการสื่อสารทางวิชาการ นอกจากนี้ยังเป็นการชี้วัดคุณภาพของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัย หากมีผู้ใช้มาใช้บริการจำนวนมาก สามารถเข้าถึงได้ทั่วโลก มีการคัดลอกนำเนื้อหาไปใช้แล้วได้รับการอ้างอิงถึงเนื้อหา แสดงว่าดีและมีคุณภาพ


WebOmetric หรือ Webometrics Ranking of World Universities หรือ Ranking Web of World Universities จัดทำโดย Cybermetrics Lab หรือ Internet Lab เป็นการจัดลำดับมหาวิทยาลัย ว่ามหาวิทยาลัยใดเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โดยการวัดปริมาณเนื้อหาที่สร้างขึ้น เน้นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งดูที่จำนวน link จากเว็บไซต์ภายนอกทั่วโลกที่ทำ link
มายังเว็บเพจหรือวัดผลกระทบการอ้างอิงตามจำนวนของ link ที่ได้รับจากภายนอก จากนั้นทำการจัดลำดับโดยใช้ดัชนี Web Impact Factor (WIF) http://www.si.mahidol.ac.th/th/department/parasitology/articledetail.asp?ac_id=6&pageno=1



Open Source Software (OSS)

            เป็นแนวคิดที่นำเอาโปรแกรมที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาใช้ในห้องสมุด เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปใช้บริการได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องเสียเงิน
Open Access (OA)
            เป็นแนวความคิดใหม่ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเอกสารวิชาการแบบดิจิทัลในรูปแบบเปิด กล่าวคือ เปิดโอกาสให้สาธารณะเข้าถึงได้แบบเสรี ไม่จำกัดสิทธิในการใช้ มีความสะดวกรวดเร็ว ถือเป็นการทำประโยชน์เพื่อชุมชนและสังคม หรือเรียกว่า Public Good ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในเจ้าของผลงาน ยิ่งเผยแพร่สาธารณะได้เร็วหรือถูกนำไปต่อยอดได้เร็ว ยิ่งเร่งการพัฒนาของโลกมากขึ้น ยิ่งมีคนนำไปใช้และอ้างอิงมาก แสดงว่าได้รับการยอมรับมาก ส่งผลให้เจ้าของผลงานมีชื่อเสียงและมีความก้าวหน้าทางด้านการงานอาชีพมากขึ้น      
ปัจจุบัน OA ครอบคลุมไปถึง วิทยานิพนธ์ เอกสารสัมมนาการประชุม เอกสารการสอนและสื่อโสตทัศวัสดุ บทความวิจารณ์หนังสือ บทความทางวารสาร รวมถึงเว็บไซต์ เช่น Wikipedia ส่วนใหญ่เป็นผลงานหรือบทความทางวิชาการ ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยง คัดลอก ถ่ายโอน แจกจ่าย สำเนา ดัดแปลง หรือนำไปใช้เพื่อการค้าได้โดยขึ้นอยู่กับการกำหนดสิทธิของเจ้าของผลงาน ซึ่งตรงข้ามกับ Copy Right ที่มีการจดลิขสิทธิ์ หากผู้ใดต้องการกระทำการใดๆของขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน หากไม่ได้ขออนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา อาจถูกฟ้องร้องได้ OA จึงเป็นสิทธิของเจ้าของที่จะเผยแพร่ที่ใดก็ได้ ทำให้ผู้ใช้จำนวนมากสามารถเข้าถึงได้ในหลากหลายรูปแบบ ดังนั้น ผู้ใช้ที่นำเอาไปอ้างอิงจึงมีมากกว่าการอ้างอิงบทความของสำนักพิมพ์
ประเภทของ Open Access
1. Open Access Journal หรือเรียกว่า ถนนสีทอง (Gold OA) หมายถึง วารสารในรูปแบบ OA ที่สำนักพิมพ์เป็นผู้จัดทำ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบคุณภาพของบทความแล้ว
2. Self-Archiving หรือ เรียกว่าถนนสีเขียว (Green OA) หมายถึง การนำผลงานมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ส่วนตัวของผู้เขียนหรือในคลังความรู้องค์กร (Institutional Repository) ที่ผู้เขียนสังกัด อาจเป็น preprint หรือ postprint ก็ได้ ไม่มีผู้ทรงคุณวุฒิมาตรวจสอบคุณภาพของบทความ
            ตัวชี้วัดคุณภาพบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ (Article Metric)
1.      Impact Scholar
2.      Citation Frequency
Impact Factor เป็นดัชนีวิเคราะห์ที่บรรณารักษ์รู้จักกันมากที่สุด เมื่อใช้ประเมินคุณภาพของเอกสาร ถ้าค่า Impact Factor ต่ำ ห้องสมุดจะไม่บอกรับ เพราะแสดงว่ามีคุณภาพต่ำ เมื่อใช้ประเมินคุณภาพสถาบันการศึกษา ถ้าค่า Impact Factor สูง แสดงว่ามหาวิทยาลัยนั้นมีคุณภาพ ซึ่งมีผลต่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ทั้งนั้น ค่า Impact Factor สูงก็ไม่ได้หมายความว่า บทความนั้นๆได้รับการอ้างอิงมาก ซึ่งค่าที่สูงอาจมาจากบทความอื่นๆก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น