วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Open Access


Open Access

คุณค่าของ OA คือ OA เป็นเอกสารเปิด ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระและสะดวก หากมีคุณภาพ ก็จะถูกนำไปใช้และถูกอ้างอิง ส่งผลให้มีการพัฒนาความรู้จากการวิจัยได้อย่างรวดเร็ว ทำให้บทความวิจัยมีคุณภาพและถูกนำไปใช้ ผลงานจึงกลายเป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับ ทำให้ผู้เขียนมีชื่อเสียงและมีผลต่อหน้าที่การงานของเจ้าของผลงาน
รูปแบบของเอกสาร
1.       Preprint เป็นฉบับร่างหรือต้นฉบับของบทความ ที่ยังไม่ผ่านการประเมินคุณภาพหรือได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
2.       Postprint เป็นฉบับสมบูรณ์ ที่ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ได้รับการปรับปรุงมาจาก Postprint
3.       Grey Literature เป็นเอกสารที่หาได้ยาก ไม่ได้รับการตีพิมพ์ทั่วไป มักเผยแพร่เฉพาะกลุ่ม อาจเป็นสิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้ผลิตมาเพื่อธุรกิจหรือเพื่อขาย หรือไม่ได้ผลิตโดยสำนักพิมพ์ ทำให้บุคคลทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้ เช่น เอกสารการประชุม รายงานของหน่วยงาน เอกสารการทำงาน เอกสารทางธุรกิจ เป็นต้น
Grey จึงต้องมีการทำ OA ทำให้เกิดความรู้มากขึ้น ช่วยให้เข้าใจ รับทราบ ป้องกัน แก้ไขกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้
4.       Errata/Corrigenda เป็นเอกสารที่ได้รับการแก้ไขด้วยเจ้าของเอง โดยที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นมาบอกให้แก้ไข
การนำเสนอเอกสารแบบเปิด
1.       Green OA หรือ Self Archiving เป็นการเก็บผลงานไว้ในคลังข้อมูลขององค์กรสังกัดของผู้เขียนหรืออาจเก็บไว้ในเว็บไซต์ของผู้เขียนเอง การทำ OA อาจเป็นได้ทั้ง Preprint และ Postprint ซึ่งไม่มีการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
2.       Gold OA เป็นการจัดทำ OA Journal ด้วยสำนักพิมพ์ มีผู้ทรงคุณวุฒิทำการตรวจสอบคุณภาพของบทความ
Public Good
คือ การเกิดแนวคิดในกลุ่มนักวิชาการที่ต้องการเผยแพร่บทความวิจัยหรือบทความวิชาการให้เป็นสาธารณะ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนความเป็นสังคมแห่งองค์ความรู้ เนื่องจากทุนที่ได้รับในการวิจัยมาจากรัฐ ซึ่งเป็นเงินที่ได้จากภาษีของประชาชน  จึงควรที่จะเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม
ดัชนีวิเคราะห์คุณภาพผลงานวิชาการ  (Metric)
คือ ค่า Impact Factor เป็นการวัดค่าความถี่ของการได้รับการอ้างอิงหรือการที่บทความวารสารถูกนำไปใช้ในแต่ละปี เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการประเมินคุณภาพ ใช้ในการเปรียบเทียบและจัดอันดับวารสาร อีกทั้งช่วยประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการจัดหาและบอกรับวารสารของห้องสมุด รวมถึงใช้ประเมินคุณภาพของสถาบันการศึกษาอีกด้วย
-          h-index เป็นค่าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการอ้างถึง(Citation) กับลำดับความนิยมของบทความที่ถูกอ้างถึง ซึ่งค่า h-index จะวัดจากจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ และการอ้างอิงของบทความเหล่านั้น
-          Citation Frequency หมายถึงจำนวนครั้งที่บทความแต่ละบทความได้รับการอ้างอิง ซึ่งมีผลโดยตรงกับคุณภาพนักวิจัย
-          Journal Immediacy Index เป็นดัชนีเปรียบเทียบความเร็วที่บทความของวารสารนั้นถูกอ้างอิงถึง (A measure of how quickly the “average article” in a particular journal is cited)
ลิขสิทธิ์
คือ การแสดงความเป็นเจ้าของผลงานเขียน ที่ผู้สร้างสรรค์สร้างงานนั้นมาด้วยสติปัญญาและความสามารถของตน การที่เจ้าของผลงานจดทะเบียนลิขสิทธิ์ เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของการไม่ให้ถูกผู้อื่นทำซ้ำหรือดัดแปลงผลงานของตน หากต้องการลอกเลียนแบบต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของก่อน หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้เป็นเจ้าของสามารถฟ้องร้องได้ ผู้ละเมิดย่อมมีความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา จึงก่อให้เกิดแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆออกมา ซึ่งสิทธิการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จะสิ้นสุดลงเมื่อได้ขายงานให้ผู้อื่นแล้ว
ลิขสิทธิ์เพื่อประโยชน์ของสังคม คือ การส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รัฐให้การคุ้มครองโดยการให้จดลิขสิทธิ์
                ลิขสิทธิ์โดยธรรม  (Fair Use) คือ งานที่มีลิขสิทธิ์ อนุญาตให้ทำสำเนาได้ในจำนวนที่จำกัด โดยมีเงื่อนไขคือทำเพื่อการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามตอบข้อสอบ เพื่อการวิจัย เพื่อใช้ในการวิจารณ์ติชมหรือแนะนำผลงาน เพื่อรายงานข่าวทางสื่อมวลชน เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเพื่อเป็นประโยชน์ของตนและบุคคลในครอบครัว ถือว่าไม่ละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์และไม่ต้องขออนุญาต การใช้งานลิขสิทธิ์โดยชอบธรรมด้วยการทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด อาจทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร แต่จำนวนที่ทำซ้ำต้องไม่เกินจำนวนที่จำเป็น ซึ่งต้องคำนึงถึงความเหมาะสมด้วย และห้องสมุดสามารถจัดให้บริการหมุนเวียนแก่ผู้ใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์
                กฎของ USA จะกำหนดให้ห้องสมุดทำสำเนาไม่เกิน 1 สำเนา เพื่อเปิดให้สาธารณชนเข้าถึง งานที่ไม่ได้ตีพิมพ์สามารถทำสำเนาได้ 3 สำเนา เพื่อเก็บรักษาหรือใช้ในห้องสมุดอื่น แต่ต้องไม่เผยแพร่ออกเป็นงานสาธารณะ ส่วนงานที่เป็นสิ่งตีพิมพ์สามารถทำสำเนาได้ 3 สำเนา เพื่อแทนที่ชุดที่ชำรุดเสียหาย หากห้องสมุดไม่สามารถหามาทดแทนในราคาที่เป็นธรรม แต่ต้องไม่เผยแพร่เป็นงานสาธารณะเช่นเดียวกับงานที่ไม่ได้ตีพิมพ์
กฎหมายเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ คือ การคุ้มครองเจ้าของสิทธิให้สามารถควบคุมการใช้ข้อมูลดิจิตอลที่ตนครองสิทธิอยู่ได้
-          ผลกระทบต่อห้องสมุด เช่น สำนักพิมพ์เลือกที่จะผลิตวารสารวิชาการในรูปอิเล็กทรอนิกส์อย่างเดียวมากขึ้น และเมื่อมีเจ้าของกิจการสารสนเทศทางวิชาการไม่กี่ราย ราคาสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องและหนังสือจึงสูงขึ้นมาก หากหยุดต่ออายุจะเข้าใช้วารสารที่เคยบอกรับไม่ได้เลย
-          ผลกระทบต่อผู้ใช้ เช่น การลดจำนวนบอกรับวารสารวิชาการ มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อนักวิจัยและบุคคลทั่วไป เกิดปัญหาการถูกบังคับให้ต้องซื้อหรือบอกรับเป็น Package และมีปัญหาในข้อจำกัดการเข้าใช้ e-Book เล่มที่ได้รับความนิยม
Free Documentation Licenses หรือสัญญาอนุญาต
สามารถใช้สัญญาอนุญาตได้มากกว่า 1 ประเภท ใน 1 งานก็ได้ ซึ่งสัญญาอนุญาตที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ License Creative Commons เมื่อมีการนำไปใช้ประโยชน์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของเจ้าของลิขสิทธิ์และสัญญาอนุญาต คือมีการอ้างอิงถึงผลงานด้วย มีข้อดีดังนี้
1.       สามารถเพิ่มความต้องการได้
2.       ไม่จำกัดในการใช้
3.       เจ้าของผลงานมีสิทธิ์อนุญาตหรือไม่อนุญาตอะไรก็ได้
หมายเหตุ: คำอุทิศลิขสิทธิ์ คือ การยกเลิกลิขสิทธิ์ เป็นการรับรองงานสาธารณสมบัติตามกฎหมาย USA


วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Trend e-Publishing & Open Source Software & Open Access

e-Publishing คือ ข้อความ ภาพ และสื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือกระบวนการจัดทำสิ่งพิมพ์ให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
Trend e-Publishing (แนวโน้มของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์) ปัจจุบันเริ่มมีการปรับปรุงรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้มีความทันสมัยตามเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ดังเช่นองค์การการศึกษาที่ได้มีการจัดทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ฟรี เป็นการช่วยประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ


คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน (Institutional Repository:IR) หมายถึง คลังเก็บทรัพยากรสารสนเทศ ได้แก่ ผลงานหรือผลผลิตของคณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา เช่น ชุดข้อมูล เอกสารสัมมนา บทความเสนอการประชุมวิชาการ เนื้อหาทางการวิจัย หนังสือ วรรณกรรม สื่อการสอน วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ทั้งที่เป็นผลงานที่อยู่ในระหว่างการดำเนินงานและผลงานที่จัดทำขึ้นเสร็จสมบูรณ์ รวมถึงงานที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ โดยมักจะเน้นเนื้อหาทางด้านวิชาการ ซึ่งมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย หรือองค์กรที่มีความประสงค์รวบรวมองค์ความรู้เป็นผู้รวบรวม จัดทำ จัดการ สงวนรักษาและเผยแพร่ในรูปแบบดิจิตอล ซึ่งเดิมอยู่ในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการทั้งผู้ใช้ที่อยู่ภายในและภายนอกองค์การ ถือเป็นการส่งเสริมสนับสนุนในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเสรีมากขึ้น ทุกคนสามารถเข้าไปศึกษาได้ทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งเพื่อให้มีการรวบรวม การสงวนรักษาผลงานหรือทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบดิจิตอลให้คงสภาพไว้ในระยะยาว สามารถเปิดดูได้ในระยะยาว เปิดดูได้หลายครั้ง โดยที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย ถือเป็นการจัดการองค์ความรู้และการสื่อสารทางวิชาการ นอกจากนี้ยังเป็นการชี้วัดคุณภาพของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัย หากมีผู้ใช้มาใช้บริการจำนวนมาก สามารถเข้าถึงได้ทั่วโลก มีการคัดลอกนำเนื้อหาไปใช้แล้วได้รับการอ้างอิงถึงเนื้อหา แสดงว่าดีและมีคุณภาพ


WebOmetric หรือ Webometrics Ranking of World Universities หรือ Ranking Web of World Universities จัดทำโดย Cybermetrics Lab หรือ Internet Lab เป็นการจัดลำดับมหาวิทยาลัย ว่ามหาวิทยาลัยใดเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โดยการวัดปริมาณเนื้อหาที่สร้างขึ้น เน้นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งดูที่จำนวน link จากเว็บไซต์ภายนอกทั่วโลกที่ทำ link
มายังเว็บเพจหรือวัดผลกระทบการอ้างอิงตามจำนวนของ link ที่ได้รับจากภายนอก จากนั้นทำการจัดลำดับโดยใช้ดัชนี Web Impact Factor (WIF) http://www.si.mahidol.ac.th/th/department/parasitology/articledetail.asp?ac_id=6&pageno=1



Open Source Software (OSS)

            เป็นแนวคิดที่นำเอาโปรแกรมที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาใช้ในห้องสมุด เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปใช้บริการได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องเสียเงิน
Open Access (OA)
            เป็นแนวความคิดใหม่ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเอกสารวิชาการแบบดิจิทัลในรูปแบบเปิด กล่าวคือ เปิดโอกาสให้สาธารณะเข้าถึงได้แบบเสรี ไม่จำกัดสิทธิในการใช้ มีความสะดวกรวดเร็ว ถือเป็นการทำประโยชน์เพื่อชุมชนและสังคม หรือเรียกว่า Public Good ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในเจ้าของผลงาน ยิ่งเผยแพร่สาธารณะได้เร็วหรือถูกนำไปต่อยอดได้เร็ว ยิ่งเร่งการพัฒนาของโลกมากขึ้น ยิ่งมีคนนำไปใช้และอ้างอิงมาก แสดงว่าได้รับการยอมรับมาก ส่งผลให้เจ้าของผลงานมีชื่อเสียงและมีความก้าวหน้าทางด้านการงานอาชีพมากขึ้น      
ปัจจุบัน OA ครอบคลุมไปถึง วิทยานิพนธ์ เอกสารสัมมนาการประชุม เอกสารการสอนและสื่อโสตทัศวัสดุ บทความวิจารณ์หนังสือ บทความทางวารสาร รวมถึงเว็บไซต์ เช่น Wikipedia ส่วนใหญ่เป็นผลงานหรือบทความทางวิชาการ ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยง คัดลอก ถ่ายโอน แจกจ่าย สำเนา ดัดแปลง หรือนำไปใช้เพื่อการค้าได้โดยขึ้นอยู่กับการกำหนดสิทธิของเจ้าของผลงาน ซึ่งตรงข้ามกับ Copy Right ที่มีการจดลิขสิทธิ์ หากผู้ใดต้องการกระทำการใดๆของขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน หากไม่ได้ขออนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา อาจถูกฟ้องร้องได้ OA จึงเป็นสิทธิของเจ้าของที่จะเผยแพร่ที่ใดก็ได้ ทำให้ผู้ใช้จำนวนมากสามารถเข้าถึงได้ในหลากหลายรูปแบบ ดังนั้น ผู้ใช้ที่นำเอาไปอ้างอิงจึงมีมากกว่าการอ้างอิงบทความของสำนักพิมพ์
ประเภทของ Open Access
1. Open Access Journal หรือเรียกว่า ถนนสีทอง (Gold OA) หมายถึง วารสารในรูปแบบ OA ที่สำนักพิมพ์เป็นผู้จัดทำ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบคุณภาพของบทความแล้ว
2. Self-Archiving หรือ เรียกว่าถนนสีเขียว (Green OA) หมายถึง การนำผลงานมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ส่วนตัวของผู้เขียนหรือในคลังความรู้องค์กร (Institutional Repository) ที่ผู้เขียนสังกัด อาจเป็น preprint หรือ postprint ก็ได้ ไม่มีผู้ทรงคุณวุฒิมาตรวจสอบคุณภาพของบทความ
            ตัวชี้วัดคุณภาพบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ (Article Metric)
1.      Impact Scholar
2.      Citation Frequency
Impact Factor เป็นดัชนีวิเคราะห์ที่บรรณารักษ์รู้จักกันมากที่สุด เมื่อใช้ประเมินคุณภาพของเอกสาร ถ้าค่า Impact Factor ต่ำ ห้องสมุดจะไม่บอกรับ เพราะแสดงว่ามีคุณภาพต่ำ เมื่อใช้ประเมินคุณภาพสถาบันการศึกษา ถ้าค่า Impact Factor สูง แสดงว่ามหาวิทยาลัยนั้นมีคุณภาพ ซึ่งมีผลต่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ทั้งนั้น ค่า Impact Factor สูงก็ไม่ได้หมายความว่า บทความนั้นๆได้รับการอ้างอิงมาก ซึ่งค่าที่สูงอาจมาจากบทความอื่นๆก็ได้